การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค
สวัสดีค่ะ ในบล็อกนี้ฉันก็จะมาสรุปเรื่องการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค แบบคร่าวๆค่ะ
หลักฐานที่แสดงว่าอดีตแผ่นธรณีภาคต่าง ๆ เป็นแผ่นเดียวกัน
1.รอยแยกของแผ่นธรณีภาคและอายุหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มีรอยแตกมากมาย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวและ ภูเขาไฟระเบิด
2.อายุของหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร
ต่อมามีการพบหินบะซอลต์ที่บริเวณร่องลึกของเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก และ พบว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
รอยแยกเกิดจากแผ่นดินเกิดการเคลื่อนตัวอย่างช้า ทำให้แมกมาใต้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรถูกดัน ขึ้นมาตรงรอยแยก และ แข็งตัวเป็นหินบะซอลต์ ทำให้ตรงกลางรอยแยกเกิดหินบะซอลต์ใหม่เรื่อย ๆ
3. ซากดึกดำบรรพ์
3.1 ซากดึกดำบรรพ์ของเฟิรนชนิดหนึ่ง ชื่อ กลอสซอพเทอรส (Glossopteris ) ที่ทวีปอินเดียอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย และ แอนตาร์กติก
3.2 ซากดึกดำบรรพ์ของลัตว์เลื้อยคลาน ชื่อ มีโซซอรัส ( Mesosaurus ) อยู่บริเวณส่วนล่างของทวีปแอฟริกา และ อเมริกาใต้
4. หลักฐานอื่น ๆ
4.1 หลักฐานจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่างๆ ของโลก เช่น หินที่เกิดจากตะกอนธารน้ำแข็ง ที่พบบริเวณชายทะเลทางตอนใต้ของแอฟริกาและอินเดีย
4.2 สนามแม่เหล็กโลกโบราณ (Paleomagnetism) ในอดีตเหล็กที่เกิดปนอยู่กับแร่อื่น ๆ มีการเรียงตัวในรูปแบบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กโลก
ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เกิดเนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกแมกมาถ่ายเทความร้อนสู่ขั้นเปลือกโลกได้ แมกมาจึงมีอุณหภูมิและความดันลดลง เกิดการทรุดตัวกลายเป็น หุบเขาทรุดตัว ดังภาพ
หุบเขาทรุดตัวมีน้ำหลมาสะสมเกิดเป็นทะเเป็นร่องลึก แมกมาแทรกขึ้นมา แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไป เกิดกระบวนการขยายตัวของพื้นทะเล (sea floor spreding ) ปรากฏเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร ดังภาพ
2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากันแนวที่แผ่นธรณีภาคชน หรือ มุดช้อนกันเป็นไปได้ 3 แบบ ดังนี้
2.1 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นหนึ่งมุดใต้อีกแผ่นหนึ่งปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมตัว กลายเป็นแมกมาปะทุขึ้นมา กลายเป็นภูเขาไฟกลางมหาสมุทร ดังภาพ
2.2 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้เกิดรอยคดโค้งเป็น
เทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ดังภาพ
2.3 แผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปและเกยกัน เกิดเป็นเทือกเขาสูงแนวยาวอยู่ในแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ดังภาพ
3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
อัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากันทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน ทำให้เปลือกโลกใต้มหาสมุทรและบางส่วนของเทือกเขาใต้มหาสมุทรเลื่อนผ่านกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนสันเขากลางมหาสมุทร มีลักษณะเป็นแนวรอยแตก ตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทร หรือ ร่องใต้ทะเลลึก ดังภาพ
ขอขอบคุณ
รูปภาพและแหล่งที่มาข้อมูล:https://curadio.chula.ac.th/Images/Class-Onair/sc/2009/sc-2009-12-24.pdf
เรื่องนี้เคยสอบค่ะ เกือบไม่ผ่านแหน่
ตอบลบ